top of page

ความหมายของการย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร (อังกฤษ: Digestion) คือ กระบวนการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าไปยังเซลล์ สารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เท่านั้นที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารเสียก่อน ส่วน เกลือแร่ วิตามิน น้ำ สามารถดูดซึมเข้าไปยังเซลล์ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางเคมี

ขั้นตอนการย่อยอาหาร

การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน

  1. การย่อยเชิงกล เป็นการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงด้วยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร

  2. การย่อยทางเคมี เป็นการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้เอนไซม์

อวัยวะที่ใช้สำหรับย่อย

  • ปาก มีเอนไซม์ที่ชื่อว่าอะไมเลส(ไทยาลิน) ย่อยแป้ง ให้เป็นน้ำตาลมอลโทส

  • กระเพาะอาหาร มีเรนนินและเปปซิน เรนนินย่อยโปรตีนในน้ำนม กลายเป็นเคซีน แล้วจะมีแคลเซียมช่วยทำให้เคซีนเล็กลงกลายเป็นพาราเคซีน เปปซิน จะรวมกับกรดไฮโดรคลอลิก เพื่อย่อยโปรตีน ให้กลายเป็นเปปไตด์ กรดไฮโดรคลอริก ช่วยรักษาความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารทำงานได้ดี

  • ลำไส้เล็ก มีมอลเทส ซูเครส และ แลกเทสส่วน

  • ตับอ่อน มีอะไมเลส ย่อยกลูโคส ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไลเปสย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันตัว ทริปซินย่อยเปปไตด์ให้เป็นกรดอะมิโน

  • ตับ มีน้ำดี (ไม่ใช่เอนไซม์) ย่อยกรดไขมันให้เป็นไขมันแตกตัว

น้ำดีไม่จัดว่าเป็นการย่อยทางเคมีเพราะน้ำดีเพียงแค่ทำให้โมเลกุลของ ไขมันเล็กลง ไม่ได้เปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีของไขมัน ดังนั้นน้ำดีจึงจัดเป็นการย่อยเชิงกลครับ

  • มอลเทส ย่อย มอลโทส เป็น >> กลูโคส + กลูโคส

  • ซูเครส ย่อย ซูโครส เป็น >> กลูโคส + ฟรักโทส

  • แลกเทส ย่อย แลกโทส เป็น >> กลูโคส + กาแลกโทส

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org

bottom of page